วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

หน้าปก

สินค้าท้องถิ่นและสินค้าพื้นเมือง

จัดทำโดย

นางสาว ปิยนันท์ พงษ์ประเสริฐ

ชั้นมัธยมศึกษาปี่ 6/1  เลขที่ 20

เสนอ

อาจารย์ น้ำหวาน เพชรบูรณ์

รายงานฉบับยี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา

วิชา คหกรรม ( ง 33102 )

โรงเรียนคลองขลุงราษฎร์รังสรรค์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

สินค้าพื้นเมือง

สินค้าพื้นเมือง
  OTOP คือ ONE TAMBON ONE PRODUCT “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นแนวคิดที่ต้องการให้แต่ละหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์หลักเป็นของตัวเอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาทำการพัฒนาจนกลายเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้แก่ ชุมชน
4 ปีที่รัฐบาลยุคนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ ได้ประกาศนโยบายประเทศไทยจะไม่มีคนจน รัฐบาล ส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่ม จากการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้า โดยผลักดันโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อให้ชุมชนคิดค้นสินค้าจากท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์ สามารถ พัฒนาคุณภาพตรงใจตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าจนสามารถนำส่งออกไปขายยัง ต่างประเทศได้ มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาสนับสนุน ในเรื่องวิชาการ เทคโนโลยี ช่องทางการตลาด และขยายโอกาสให้ชุมชนเข้าถึงแหล่งทุน
เป้าหมายที่วาดฝันไว้ ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนตนเอง ยกระดับจากฐานะผู้ผลิตสินค้าขึ้นมาเหมือนเป็นบริษัทย่อยๆ ครบวงจรทั้งการบริหารจัดการ ดูแลระบบการเงินและระบบบัญชี ควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐาน ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย มีความคล่องตัวในการติดต่อตลาด ได้ด้วยตัวเอง ทำให้รายได้จากการขายสินค้า หมุนเวียนอยู่ในชุมชน เศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็ง สมาชิกในชุมชนพึ่งตนเองได้
ตัวเลขการก้าวกระโดดของการเติบโตของยอดการจำหน่ายสินค้า OTOP ใน 4 ปีที่ผ่านมา บวกกับการคาดการณ์ของรัฐบาล ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ารายได้และผลประโยชน์จากโครงการมีผลสะเทือนต่อประชาชน ทั่วประเทศ ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย SMES ,ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของแต่จดทะเบียนกลุ่ม,กลุ่มชาวบ้านชุมชน ,กลุ่มสหกรณ์/เกษตรกร ฯลฯ
ความเชื่อมโยงของการทุ่มงบประมาณเป็นหมื่นล้านเพื่อพลิกเศรษฐกิจรากหญ้า โดยเฉพาะการชูโครงการ OTOP เพื่อสร้างรูปธรรมการส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากภาครัฐ การเปิดกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งทุนใหม่ที่จะนำไปสู่การสร้างรายได้ เรียกว่าเป็นทางเลือกอีกหนึ่งทางสำหรับชุมชนในการแสวงหาเงินทุน เพื่อผลิตสินค้า และหมดห่วงกับภาระหนี้สินของตนเองชั่วคราว จากโครงการพักชำระหนี้เกษตรกร
ผลลัพธ์จะตกอยู่ในกลุ่มรากหญ้าตามนโยบายรัฐหรือไม่? การเร่งผลักดันสินค้าเปลี่ยนแปลงอะไรในชุมชน? สาเหตุที่มีชุมชนต้องบาดเจ็บจากการเข้าโครงการเพราะอะไรและมากน้อยแค่ไหน? ชุมชนมีหนี้สินเพิ่มจากการกู้ยืมเงินมาพัฒนาสินค้าเท่าไร? ยังไม่รวมถึงจะมีความสามารถในการจ่ายหนี้คืนไหม? ทางออกจากการผลิตที่ไม่มีตลาดรองรับจะแก้ไขวิธีไหน? หรือ การเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมและสุขภาพจากการทำงานชุมชนจะรับมือ อย่างไร ? ปัญหาเหล่านี้ เป็นเพียงตัวอย่างปัญหาที่ถาโถมเข้าสู่ชุมชนระดับรากหญ้าจากสภาพกลุ่มจัดตั้งล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก มาวิเคราะห์ 4 ปีที่เหลืออยู่ อาจต้องหันกลับมาทบทวนซ่อมแซมชุมชนที่มีปัญหา เพราะในความเป็นจริงในกลุ่มที่ได้เปรียบย่อมมีกลุ่มเสียเปรียบ เพียงนโยบายที่ใช้จะเดินด้วยวิธีการ มองข้าม ทิ้งหรือเแก้ไข รัฐจะมีแผนข้ามารองรับความบิดเบี้ยวของนโยบายและช่วยเหลือผู้เสียเปรียบให้ ผ่านวิกฤตได้มากน้อยแค่ไหน มาพบกับมุมมองบางส่วนที่อาจนึกไม่ถึง ชุมชนบางแห่งไปไม่ถึงดวงดาว และอยู่ในวังวนของ นโยบาย OTOP 4 ปีสร้าง (ปัญหา)ชุมชน
ใครได้ประโยชน์จากตัวเลขแห่งความสำเร็จ
ความสำเร็จที่รัฐบาลนำเสนอ ในตัวเลขย้อนหลังของเอกสารการดำเนินงานตามนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ ปี 2545 เปรียบตัวเลขยอดการจำหน่ายสินค้าก่อนและเริ่มการสนับสนุนโครงการ OTOPแสดงยอดจำหน่ายสินค้า อยู่ที่ประมาณ 245 ล้านบาท ใน ช่วง 12 เดือน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2543- กันยายน 2544 ในขณะยังไม่มี OTOP เปรียบเทียบกับยอดจำหน่ายสินค้า 3 เดือนมี OTOP ในเดือนตุลาคม 2544- ธันวาคม 2544 ประมาณ 167 ล้านบาท ยอดจำหน่ายสินค้าเฉพาะเดือนมกราคม ปี 2545 ประมาณ 243 ล้านบาทยอดของตัวเลขมีความคลุมเครือ เพราะรายงานได้รวมรายได้ระหว่าง กลุ่ม SMES ที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว และกลุ่มชาวบ้านมีผสมกันทั้งกลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันและกลุ่มผู้ประกอบการที่ เป็นชาวบ้านอยู่แล้วเข้าด้วยกัน และไม่มีการชี้แจงรายละเอียดระหว่างประเภทสินค้าที่เกิดขึ้นใหม่จากผลของการ เข้าร่วมโครงการ OTOP กับสินค้าที่มียอดขายเดิม เมื่อมีการจดทะเบียนขึ้นเป็นสินค้า OTOP ทำให้ยอดเพิ่มขึ้นสูง ไม่สะท้อนภาพความเป็นจริง ผลการรายงานการประเมินนโยบายหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของประภาส ปิ่นตกแต่ง และพยุงศักดิ์ คชสวัสดิ์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 ที่ผ่านมาจากการรายงานของหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันที่ 20 ธันวาคม 2547 ตัวเลขยอดจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2545 เท่ากับ 16,700 ล้านบาท ขยับสูงขึ้นมาเป็น 33,200 ล้านบาท ในปี 2546 และก้าวขึ้นมาเกือบ 50,000 ล้านบาท ในปี 2547 และคาดการณ์ว่าในปี 2548 จะมียอดจำหน่ายทะลุ 1 แสนล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวความพยายามที่จะดันยอดจำหน่ายสินค้าให้ถึงตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกเหนือจากจัดการแสดงสินค้าที่ผ่านคัดเลือก ในศูนย์กลางแสดงสินค้า เมืองทองธานี เพื่อจัดแสดงสินค้าจำนวนกว่า 5,000 รายการ จากผู้สนใจเข้าร่วมงานถึง 37,754 ราย จากบทสัมภาษณ์ของ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 10 ธันวาคม 2547 ที่เพิ่มช่องทางทางการตลาดผ่านการส่งออกต่างประเทศเงื่อนไขของความจริงที่เกิดขึ้น สินค้าที่จัดแสดงในงานมีสัดส่วนของจำนวนของผู้ประกอบการ SMES และผู้ประกอบอิสระเป็นส่วนใหญ่ สินค้าที่มาจากชุมชนที่แท้จริงมีสัดส่วนที่น้อยมาก สินค้าจากชุมชนไม่สามารถสู้กับคุณภาพสินค้าที่เป็นของกลุ่ม SMES ได้ พบว่าสินค้าชุมชนมีข้อจำกัดที่ยังไม่สามารถพัฒนาสินค้าสินค้าให้ตรงกับความ ต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอำนาจการซื้อทั้งในเมืองและต่างชาติ และชุมชนยังขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ไม่ผ่านมาตรฐานสินค้าที่โครงการตั้งตามขั้นของระดับดาว จากข้อจำกัดดังกล่าว ตัวเลขของการเติบโตของการจำหน่ายสินค้าจึงตกอยู่ในกลุ่ม SMES เป็นส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเท่าทันตลาดมากกว่า
ส่วนความหวังในตลาดส่งออก ส่วนหนึ่งมาจาก SMES และสินค้า OTOP จากชุมชน แต่กลุ่มหลังมีอุปสรรคมากที่จะเตรียมรับมือในการส่งออก เช่น การผลิตให้ทันเวลาและคำสั่งซื้อไม่ได้,ไม่มีมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมาก และสินค้าหลายรายเป็นประเภทชิ้นเดียว ส่วนหมวดอาหารความพยายามที่จะส่งออกมากแต่ติดขัดเรื่องการขอใบอนุญาตจาก องค์การอาหารและยา และจากการให้บทสัมภาษณ์ของผลการแสดงสินค้าในต่างประเทศ สินค้าจำนวนมาก ยังไม่ตรงความต้องการของลูกค้าต่างชาติ และถึงได้คำสั่งซื้อแต่ผู้ประกอบการติดปัญหาเรื่องเงินทุนในการผลิต ภาพสะท้อนจากผู้ร่วมจัดงานในการแสดงงานต่างประเทศ จากหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ28 เมษายน 2548 การทุ่มงบประมาณของรัฐ ในการชิงส่วนแบ่งตลาดในต่างแดน จึงมีบทเรียนที่ต้องกลับมาเตรียมความพร้อมของผู้ผลิตในประเทศใหม่
รากหญ้าแหลก สินค้าไม่ติดดาวการผ่านกระบวนการระดมความคิด ลองผิดลองถูกของกลุ่มชาวบ้านในหลากหลายทั่วทุกทิศไทย บางกลุ่มอ่อนแอแพ้ล้มหายตายจากการการผลิตสินค้า OTOP ไปมิใช่น้อย เพราะสินค้าที่ผลิตออกมาล้นตลาด และยังซ้ำหน้าตาที่เหมือนกันกับตำบลอื่นในจังหวัดเดียวกัน หรือซ้ำประเภทกับภูมิภาคอื่น เพราะทุกตำบลพยายามหาสินค้าที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของตำบล หน่วยงานรัฐส่งเสริมการผลิตผลงาน จึงเป็นเรื่องไม่แปลกที่จะมีจักรสาน ทำน้ำพริก ขนมขบเคี้ยว ผ้าไหม ฯลฯ เกือบทุกบ้านทุกตำบลการจัดลำดับขั้นของการมอบดาวตั้งแต่ 1-5 ดาว เข้ามามีบทบาทในการตัดสินสินค้าในชุมชน จะแข่งในตลาดได้ต้องได้ 3 ดาวขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนกลุ่ม อยู่ในตลาดมานานจะเข้ามาคัดเลือก สินค้าที่มาจากชุมชนที่เพิ่งเริ่มต้นอาจปิดฉากการผลิต เมื่อติดดาว เพียง แค่ 1 หรือ 2 ดาว เพราะสินค้าที่ชาวบ้านผลิตเป็นสินค้าพื้นถิ่น ใช้ในภูมิภาค ชาวบ้านขาดโอกาสในการเรียนรู้ ให้เท่าทันตลาดภายนอกจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่จะพัฒนากระบวนเรียนรู้ ปรับตัวให้ทันกับความต้องการของลูกค้าที่มีเรื่องรสนิยม รูปแบบ คุณภาพ เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ขั้นตอนกว่าจะได้ดาว เข้าตากรรมการคัดสรรสินค้าสุดยอดของจังหวัด ภาคและประเทศ ระดับ 5 ดาว ผู้ผลิตต้องมีคุณสมบัติส่งออกได้ ควบคุมการผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม มีมาตรฐาน และมีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ กระบวนการคัดเลือก ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผลิตในจังหวัดหรือเขตกรุงเทพฯและ เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลังการอบรม ส่งไม้ต่อให้จังหวัดพิจารณา ตรวจสอบเรียบร้อยนำสินค้าที่ได้ 3-5 ดาว ประกวดระดับประเทศ
หมายความว่าสินค้าชุมชนต้องมีกำลังคนเพียงพอที่จะรับคำสั่งซื้อจำนวนมาก มีเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยเพียงพอที่ทำให้สินค้ามีมาตรฐาน ชาวบ้านต้องมีความรู้ที่จะรองรับการพัฒนา และความรู้ใหม่ๆ เพื่อไปปรับปรุงสินค้า มีไหวพริบในการเจราจากับต่างชาติเมื่อมีการต่อรองเรื่องราคา คำถามที่เกิดขึ้นว่าจะมีกี่ชุมชนที่ความพร้อมที่จะดำเนินการได้ช่องว่างหลุมใหญ่ จึงเป็นโอกาสที่กลุ่มที่มีศักยภาพอื่นเข้ามาทดแทนสินค้าชุมชน ผู้รับประโยชน์ส่วนใหญ่คือ ผู้ประกอบการ ชาวบ้านจะเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะแรงงานรับจ้างทำงานมากขึ้นตามคำสั่งของนาย จ้างจากการเปิดเผยตัวเลขของนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยฐานะประธานอำนวยการคัดสรรสุดยอด OTOP ปี 2547 จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 10 ธันวาคม 2547 เปิดเผยว่า สินค้า 5 ดาว มีจำนวน 539 ผลิตภัณฑ์ สินค้า 4 ดาว จำนวน 2,177 ผลิตภัณฑ์ และสินค้า 3 ดาว จำนวน 4,750 ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น 7,450 ผลิตภัณฑ์ไม่มีการเก็บสถิติตัวเลขที่ปรากฏและอ้างอิงได้ว่า สินค้าชุมชนตกรอบไม่มีดาว หรือได้ ดาวเพียง 1-2 ดวงมาปลอบใจ จะมีมากน้อยแค่ไหน คำถามที่รอคำตอบอยู่เบื้องหลังว่า ชุมชนจะบริหารจัดการกับวัตถุดิบ หรือสินค้าที่ผลิตและขายไม่ได้อย่างไร เงินกู้ยืมของกลุ่มที่มาทำทุนจะคืนได้เมื่อไหร่ ปัญหาหรือตัวเลขที่เว้นวรรคไว้ อาจต้องเร่งทบทวนและหาทางออก ประเมินสัดส่วนงบประมาณสนับสนุนใหม่ เพื่อพยุงหรือแก้ไข สินค้าชุมชนจากรากหญ้าให้มีตอนจบสวยงามสินค้าล้นตลาด และกลไกตลาดหยุดนิ่งสินค้าชุมชนที่หน่วยงานส่งเสริม โดยการหาวัตถุดิบในท้องถิ่น ประเภทสินค้าไม่แตกต่างกันมาก ทำให้สินค้าที่เหมือนกันออกมาสู่ตลาด เมื่อสินค้าที่เกินความต้องการออกมามาก สงครามราคาเกิดขึ้น ราคาที่ถูกเพราะมีทางเลือกหรือสินค้าทดแทนที่เหมือนกันให้กับลูกค้า บางกลุ่มขายสินค้าลดต่ำกว่าต้นทุน หรือ ตั้งราคาไม่คุ้มกับการผลิต ทำให้กลุ่มเดิมที่ผลิตสินค้าอยู่แล้วประสบปัญหา กลไกราคาสินค้าล้มเหลวตัวอย่างจากกลุ่มก่อนเข้าโครงการ OTOP กลุ่มจักรสานจากผักตบชวา ในภาคกลางกลุ่มหนึ่ง มีอาชีพเสริมจากการรับจักรสานสินค้าผักตบในรูปแบบต่างๆ มากว่า 20 ปี มียอดขายเดือนละ 700,000 บาท ในช่วงปี 2547ที่ผ่านมา กลุ่มมียอดขายลดลงเหลือเดือนละ 7,000 บาท จากผลของการถูกลอกเลียนแบบเมื่อมีการส่งเสริมสินค้า OTOP กลุ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีคนกลางสั่งทำแบบ และเสนอราคา คนกลางนำตัวอย่างสินค้าไปให้กลุ่มอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมากมายทำการแข่งขันตัดราคา ทำให้กลุ่มไม่มีงานเข้ามาให้กับสมาชิก สมาชิกกลุ่มลดจำนวนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งและเร่งพัฒนารูปแบบให้หลากหลายมาก ขึ้น เน้นการขายสินค้ากับลูกค้าเก่าหรือกรณีของกลุ่มทอผ้า ภาคกลาง ที่มีลูกค้าขายส่งเป็นร้านในศูนย์การค้าเกสรพลาซ่า ลูกค้าจะมารับและคัดเลือกสินค้าเองจากที่กลุ่ม เมื่อกลุ่มเข้าโครงการ OTOP เมื่อกลุ่มนำสินค้าไปออกจำหน่ายเอง การกำหนดราคาขายเท่ากับราคาขายส่ง ทำให้ลูกค้าประจำยกเลิกการสั่งซื้อจากกลุ่ม กลุ่มเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ผลิต และทำตลาดขายสินค้าด้วยตนเอง ในงานแสดงสินค้าของราชการที่มีไม่ต่อเนื่อง รายได้ของกลุ่มจากลูกค้าประจำลดลงอย่างมาก
ตัวอย่างการกำหนดนโยบายของรัฐที่จัดช่องทางให้ผู้ผลิต พบผู้บริโภคโดยตรง ราคาขายของชาวบ้านที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่ ค่าแรง ค่าเดินทาง ฯลฯ เพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ต้นทุนสินค้าไม่อยู่บนฐานของความเป็นจริง เมื่อรัฐลดการสนับสนุน กลุ่มชาวบ้านไม่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงได้การตัดตอนคนกลางซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขยายช่องทางการตลาดให้กับกลุ่ม โดยรัฐทำหน้าที่เป็นตัวกลางทดแทน แต่อยู่ในบทบาทของผู้หาสถานที่จัดงาน ความรับผิดชอบด้านการตลาดและการขายตกอยู่กับผู้ผลิต ซึ่งชาวบ้านต้องปรับตัวและออกจากหมู่บ้านรับผิดชอบยอดขายเพื่อทดแทนกับยอด การขายส่งที่หายไปจำนวนมากกลไกราคาการซื้อขายของระบบของการขายปลีกและการขายส่งไม่แตกต่างกัน ทำให้คนกลางที่เป็นช่องทางการกระจายสินค้ามองหาช่องทางและนำเข้าสินค้าจาก ประเทศเพื่อนบ้านเช่น จีน ที่ผลิตสินค้าเหมือนกัน มีความแตกต่างด้านราคาเข้ามาทดแทนสินค้าจากชุมชน
การลอกเลียนแบบของเอกลักษณ์ในสินค้า ในกลุ่มชาวบ้านที่ทำการผลิต ที่มีลวดลวยถ่ายทอดกันเองเป็นเทคนิคในหมู่บ้าน เป็นปัญหาที่หลายกลุ่มสินค้าชุมชนพบ การจดสิทธิบัตรแม้เป็นทางออกสามารถจะคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย หากค่าใช้จ่ายในการจดสิทธิบัตรมีราคาสูงมากเกินกว่าที่ชุมชนจะรองรับได้ ในอัตรา 20, 000 บาทต่อแบบซึ่งในชุมชนที่มีแบบหรือลายมากเป็นสิบเป็นร้อยแบบไม่สามารถจะเสียค่าใช้จ่าย ได้ จึงต้องปล่อยให้กลุ่มธุรกิจบางกลุ่มเอาเปรียบและใช้สิทธิทางกฎหมายกล่าวอ้าง ความคุ้มครองแทน เช่นในกรณีของกลุ่มเครื่องทองลงหิน หัตถกรรม OTOP ในเขตกรุงเทพฯ มีโรงงานซื้อช้อนลายดอกบัว และนำไปจดสิทธิบัตรเป็นลายของตนเอง เมื่อกลุ่มได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ไม่สามารถผลิตลายดังกล่าวได้เนื่องจากโรงงานอ้างสิทธิ์ และจะดำเนินความตามกฎหมาย กลุ่มละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งที่เจ้าของลายเป็นของกลุ่มชาวบ้านเอง ทางกลุ่มจึงเลิกผลิตลายดอกบัวและหาลายอื่นทดแทน ย้ำว่าไม่สามารถเรียกร้องได้เพราะติดเงื่อนไขค่าใช้จ่ายการจดสิทธิบัตร ซึ่งมีราคาสูง เหมือนกับกลุ่มทอผ้าในภูมิภาคอื่นที่ประสบปัญหาเดียวกันในการแพร่เผยสินค้า ไปยังทั่วโลกงานมาก สุขภาพทรุดกลุ่มที่ผลิตสินค้ารองรับนโยบาย 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์มีปัญหาสุขภาพสะสมจากการทำงานมาก และไม่ถูกวิธี เพราะต้องเร่งการผลิตให้ทันกับปริมาณการสั่งซื้อทีไหลทะลักเข้ามาในชุมชน สวนทางกับสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน รายได้ที่มากขึ้นไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของชีวิต หากต้องแลกกับสภาพปอดที่ทรุดโทรม นิ้วที่ด้วนหาย หรือดวงตาที่มือบอดความเสี่ยงของแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบ ทั้งในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปอาหาร ชุมชนผลิตของเล่นจากไม้ คนทำงานหัตถกรรมเครื่องทองลงหิน กลุ่มเหล่านี้ไม่มีสังกัด เป็นตัวแทนของแรงงานที่อยู่ในชุมชน
กลุ่มอาชีพผลิต ของเล่นจากไม้จ. เชียงใหม่ มีสภาพเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก มีคนทำงานประมาณ 20 คน บริเวณบ้านกับโรงงานอยู่รวมกัน กระจายอยู่ 15 หลังคาเรือน ห้อมล้อมชุมชน บรรยากาศเต็มไปด้วยฝุ่นจากผงไม้ กลิ่นสารระเหย ทินเนอร์ แล็คเกอร์ พระนักพัฒนาในชุมชน เล่าถึงลักษณะของคนงานที่รับสารระเหย จะมีอาการเหม่อลอย ขาดสติ จนถึงหลับแล้วไม่ฟื้น ทุกคนมีความเสี่ยงที่นิ้วจะขาดจากการเลื่อยไม้
เครื่องทองลงหิน ความร้อนฝุ่นและฟูมโลหะ จากการหลอมทองแดงและดีบุก นำมาเทขึ้นรูปผ่านกระบวนการมากกว่า 10 ขั้นตอนจนถึงการขัดให้เงางามก่อนส่งถึงมือลูกค้า แต่ไม่มีใครทราบเลยว่า ฝุ่นและฟูมโลหะเหล่านั้นได้ฟุ้งกระจายไปในชุมชน มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ นอกเหนือจากนั้นคือความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจากเครืองมือต่างๆที่ใช้ ประธานกลุ่มได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาของอาชีพที่สืบทอดภูมิปัญญา กันมาเป็นเวลานาน ขั้นตอนการผลิตยังคงเดิมไม่มีเครื่องมือหรือวิธีการป้องกันอันตรายที่จะเกิด ขึ้น

เรื่องกล้วยๆที่ไม่กล้วย รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นสามารถซื้อสุขภาพดีได้หรือไม่? คำถามที่รอคำตอบในวันนี้ มีจุดเริ่มจากการริเริ่มการผลิตกล้วยแปรรูป ที่มีวิวัฒนาการในเรื่องรสชาติ บรรจุภัณฑ์ ส่วนผสมอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงทุกวันนี้กล้วยอบม้วนของชุมชนแม่บ้านภาคกลางขึ้นแท่นสินค้า OTOP 5 ดาว อย่างภาคภูมิ เบื้องหลังรอยยิ้มของการผลิตสินค้าคือความทรุดโทรมของสุขภาพคนทำงานที่มี ความเมื่อยล้า จากการลุกนั่งไม่ถูกวิธี การยกของหนักเกินกำลังรอยแผลจากมีดบาดที่กดทับมือ การยกทับกล้วยจำนวนกว่า 800 ลูกต่อวันหรืออาจมากกว่านับพันครั้ง ถ้ามีคำสั่งซื้อเข้ามามากในช่วงเทศกาล เป็นสิ่งที่สะสมมาเป็นเวลานาน ผู้นำกลุ่มเริ่มตั้งคำถามและมีเสียงสะท้อนจากคนทำงาน และสถิติของแม่บ้านที่หยุดงานมากขึ้น เริ่มค้นหาการทำงาน ด้วยจิตใจเบิกบาน สุขภาพแข็งแรง คุณภาพชีวิตที่ดีนี่เป็นเพียงมุมด้านมืดที่ กระจกแห่งความจริงส่องไปไม่ถึง เพียงแต่รัฐจะหยุดหันกลับมาทบทวน และยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนรากหญ้า พร้อมใจกันการแก้ไขให้ตรงกับแนวนโยบายของ OTOP 4 ปีที่สร้าง ชุมชนหลายแห่งยังรอการดำเนินการจะผ่าตัดหรือซ่อมแซมจากนายช่างใหญ่ของประเทศ

สินค้าท้องถิ่น

สินค้า OTOP และสินค้าท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร
กล้วยกวนตองแก้ว กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี จัดตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2543 ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 30 คน โดยการรวมตัวกันเองของชาวบ้านในหมู่บ้านเกาะน้ำโจนเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพทำนาทำไร่ และมีเวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนาเลยรวมตัวกันเพื่อปรึกษาหารือเพื่อประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยการนำของ นางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร จึงได้ขอการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรเพื่อส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากวัตถุดิบในท้องถิ่นมีจำนวนมาก เช่น กล้วย ส้มโอ เป็นต้น จึงได้นำมาแปรรูปเป็น กล้วยกวนและส้มโอกวนและพัฒนาเป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรอีกอย่างหนึ่ง
กระยาสารทเป็นขนมหวานของไทย ทำจากถั่ว งา ข้าวคั่ว มาผัดกับน้ำตาล มักจะทำกันมากในช่วงสารทไทยแรม 15 ค่ำ เดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนของนายมีว่าเมื่อเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท ใส่อังคาสโภชนากระยาหารกระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพาน พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะกระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย
นอกจากนี้ ทางจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานกวนกระยาสารท กล้วยไข่มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นต้นมา ในวันงานจะมีกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทอดผ้าป่าแถว การประกวดพืชผลทางการเกษตร เช่น กล้วยไข่ รวมทั้งการแสดงสินค้าพื้นเมืองด้วย
สินค้า OTOP และสินค้าท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ
หม่ำ OTOP ของดีเมืองชัยภูมิ
       หม่ำชัยภูมิ ได้ขื่อว่า "หม่ำตำนานรัก”แห่งเดียวของไทย ที่พรานป่าไปล่าสัตว์บนภูเขียว –ภูคิ้งในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลานาน 1-3 เดือน ในการเดินทางไป-กลับ พอล่าสัตว์ป่าได้ ก็คิดหาวิธีถนอมอาหารมาฝากลูก-เมีย ที่รออยู่บ้าน โดยที่เนื้อสัตว์ไม่เน่าเสีย พรานจึงสับเนื้อ ผสมตับ คลุกข้าวเหนียวและเกลือที่พกติดตัวไป ยัดใส่ในกระเพาะของสัตว์ หรือลำไส้ของสัตว์ เพื่อหมักหรือถนอมให้เก็บไว้ได้นาน เพื่อเป็นของฝากภรรยา พอกลับถึงบ้านนำมาชิม ปรากฏว่า มีรสชาติอร่อย เป็นที่ชอบใจภรรยา จึงถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทาน สืบมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ – ปัจจุบัน "หม่ำ” จึงเป็นอาหารพื้นเมืองชัยภูมิ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยในปัจจุบันนิยมทำจากเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ผสมกับตับ กระเทียม เกลือ บดให้ละเอียด บรรจุไว้ในกระเพาะสัตว์ เนื่องจากเป็นการแปรรูปอาหารจากภูมิปัญญาที่เก็บไว้นานถึง 3 เดือน เป็นที่นิยมบริโภคมากที่สุดทั้งในและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาคอีสานและนิยมซื้อเป็นของกินของฝากชั้นนำสัญลักษณ์ที่สำคัญจังหวัดชัยภูมิ เพื่อเป็นสินค้าที่ระลึก
ส่งผลให้หม่ำ เป็นสินค้า OTOP ประเภทอาหารพื้นบ้านที่สำคัญ ได้รับการรับรองตราอาหารปลอดภัย และ อย. จาก สสจ.ชัยภูมิ จุดเด่น หม่ำชัยภูมิ เป็นพก โดยใช้กระเพาะหมู บรรจุเพื่อให้เก็บรักษาคุณภาพได้นาน และรสชาติอร่อย แหล่งผลิตและจำหน่ายที่มีชื่อเสียงได้แก่ที่บ้านบัว อ.เกษตรสมบูรณ์ ,        อ.ภูขียว, ช่องสามหมอ อ.คอนสวรรค์ และ บริเวณห้าแยกโนนไฮ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ
ผ้าไหมบ้านเขว้า โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ มีความสวยงาม และคุณภาพ OTOP ระดับ 5 ดาว ราคาถูก คุณภาพเยี่ยม ส่งออกทั่วโลก มีทั้งเสื้อ กางเกง กระโปง กระเป๋า และอื่นๆ มากมาย
บ้านโนนม่วง เป็นหมู่บ้านที่มีมะม่วงแก้ว มากเหมือนชื่อหมู่บ้าน บรรพบุรุษในสมัยก่อนจึงทำมะม่วงแช่อิ่มเพื่อเก็บไว้รับประทานในฤดูขาดแคลน จึงเป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากสมัยบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาด เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน
ผ้าไหมมัดหมี่อำเภอบ้านเขว้า เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ควบคู่กับชุมชนอำเภอบ้านเขว้ามาตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งเริ่มมาจากการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันจากปู่ยา ตายาย สู่ลูกหลาน เป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ ที่นำมาพัฒนาจนถึงปัจจุบัน เน้นความปราณีต สวยงาม ละเอียดอ่อน ลวดลายบนพื้นผ้าได้แนวคิดมาจากการดำรงชีวิตที่อาศัยธรรมชาติที่อยู่รอบข้างมาเป็นแบบในการคิดลวดลายผ้า ซึ่งผ้าไหมมัดหมี่เป็นผ้าที่มีคุณค่าในอดีตกาลนิยมใส่ไปในงานพิธีที่เป็นศิริมงคล ผ้าไหมมัดหมี่จึงเป็นศิริมงคลแก่ผู้สวมใส่

สินค้า OTOP และสินค้าท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี
จังหวัดสุพรรณบุรีมีหัตถกรรมพื้นบ้าน สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกที่เป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ เช่น เครื่องจักสาน ประเภทไม้ไผ่และหวายโดยเฉพาะลายดอกพิกุล ลายดอกลั่นทม และหนามทุเรียนสุพรรณเป็นลายที่มีความสวยงามและประณีต มีที่อำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง อำเภอเดิมบางนางบวช เครื่องทองเหลือง มีที่อำเภอดอนเจดีย์ เครื่องเบญจรงค์ มีที่อำเภอเมือง ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาและการทอผ้า มีที่อำเภอเมือง อำเภออู่ทอง อำเภอสองพี่น้องนอกจากนี้ยังมีอาหาร ขนม ของฝาก ได้แก่ ขนมสาลี่สุพรรณเนื้อเบานุ่ม รสชาติกลมกล่อม และขนมไทยอื่น ๆ แห้วกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง เห็ดโคน เป็ดย่างน้ำผึ้ง ปลาม้า ไก่อบฟาง ปลาแดดเดียว เนื้อแดดเดียว มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปตามท้องตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ แบ่งเป็นแต่ละ อำเภอ 

ประกอบความสำเร็จ (Key Success Factors) ในการจัดตั้ง บริหาร จัดการ และจำหน่ายสินค้า OTOP ที่ศูนย์ต่างๆ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลัก
    เป็นศูนย์เพื่อขายส่ง หรือขายปลีก หรือส่งออก เป็นศูนย์รวมของจังหวัดหรือเป็นศูนย์ของอำเภอ หรือเป็นศูนย์ประจำแหล่งท่องเที่ยว 
2. สถานที่ตั้งของศูนย์ (Location)  
    สถานที่ตั้งควรจะต้องสะดวกในการเดินทาง หรืออยู่บนถนน / แหล่งธุรกิจการค้า แหล่งท่องเที่ยวโดยคำนึงถึงเส้นทางที่นักท่องเที่ยวเดินทางผ่าน หรือ อยู่บนเส้นทางขากลับ ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะแวะซื้อสินค้า ของฝาก ก่อนจะกลับ โดยมีป้ายบอกให้ทราบล่วงหน้าอย่างชัดเจน
3. คู่แข่ง (Competitor - Threat)
    สถานที่ตั้งศูนย์สินค้าโอทอปนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงร้านค้าที่เป็นคู่แข่งในบริเวณใกล้เคียง ที่ขายสินค้าเหมือนๆกัน แต่มีราคาถูก อันเนื่องมาจากต้นทุนร้านค้าที่ต่ำกว่า เช่น ร้านที่บริเวณตลาดนัดจตุจักร ตลาดประตูน้ำ ร้านที่ทำเป็นเพิง เรียงราย กันอยู่ริมถนน หรือ ร้านค้าที่อยู่ในศูนย์สินค้าอื่นๆ อยู่ใน Plaza อื่นๆ เป็นต้น  จะเห็นได้ว่า คนที่มาซื้อสินค้า โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ เขาจะต้องการของที่ดีพอควรแต่มีราคาถูก และมีให้เลือกมากๆ 
4. สถานที่จอดรถ
    มีสถานที่จอดรถที่สะดวก กว้างขวาง และสามารถรับรถทัวร์ได้
5. สินค้าที่นำมาจำหน่าย และจัดแสดง
    ควรมีสินค้าของจังหวัด และรวมสินค้าจากเครือข่ายโอทอปของจังหวัดอื่นๆด้วย เพื่อให้มีสินค้าที่หลากหลาย และมีจำนวนมากที่จะเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่เข้ามาชมได้ การจัดตกแต่งร้าน ควรจะต้องมีชั้นวางสินค้าที่ทันสมัย มีการรักษาความสะอาด ทั้งที่สินค้าและในอาคาร ถ้ามีงบประมาณเพียงพอ ควรจะต้องติดเครื่องปรับอากาศด้วย มิฉะนั้น สินค้าก็จะมีแต่ฝุ่นจับ
6. การติดต่อ ทางโทรศัพท์ โทรสาร และ อีเมล์
   มีอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารได้ทั้งทางโทรศัพท์ โทรสาร และ อีเมล์ และควรมีคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 - 2 เครื่อง เพื่อใช้ในการทำงานด้านต่างๆ เช่น การทำรายการสินค้า (Stock) ทำบัญชี รายงานการขาย และใช้ปรับปรุงข้อมูลสินค้า และเข้าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น


7. การติดต่อด้วยภาษาอังกฤษ
    ผู้จัดการศูนย์ / พนักงาน ควรจะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน สามารถติดต่อกับชาวต่างประเทศได้ ในกรณีมาซื้อสินค้า หรือมีการสั่งสินค้าทางอินเทอร์เน็ต

8. Facilities ต่างๆโดยรอบศูนย์
     ศูนย์ตั้งอยู่โดดเดี่ยว หรือมี Facilities อื่นๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายของที่จูงใจให้มีคนมาแวะซื้อสินค้า และมีห้องน้ำ ที่สะอาด ไว้บริการ นอกจากนั้น มีบริการส่งของให้ด้วยหรือไม่

9. วัน เวลา เปิด - ปิด
    เปิด - ปิดตามวัน เวลา ราชการ หรือเปิดทุกวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นศูนย์ที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว หรือมีการเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุด ก็ควรจะต้องเปิดในวันเสาร์ - อาทิตย์ ด้วย

10. ป้ายบอกที่ตั้งศูนย์
    ควรมีป้ายบอกตำแหน่ง ทางไปศูนย์ และระยะทาง โดยอาจจะติดตั้งริมทางหลวง หรือที่ซึ่งจะมองเห็นได้ชัด 

11. การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ
    มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่ามีศูนย์สินค้า OTOP ระดับใด อยู่ที่ใด เช่น ศูนย์สินค้า OTOP ระดับจังหวัด ตั้งอยู่ที่ ...   ศูนย์สินค้า OTOP ระดับอำเภอ ... ตั้งอยู่ที่ ... โดยจัดทำแผ่นพับ พร้อมทั้งมีแผนที่ประกอบ แจกจ่ายให้นักท่องเที่ยว ผู้ที่สนใจ ณ ศูนย์บริการการท่องเที่ยว หรือตามโรงแรมต่างๆ นอกจากนั้น อาศัยสื่ออินเทอร์เน็ต ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์

12. Web Site ของศูนย์สินค้า OTOP
    จัดทำเว็บไซต์ของศูนย์สินค้า OTOP เพื่อเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก และสามารถรับการสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต ทางอีเมล์ หรือทางโทรศัพท์ ได้ แต่ก็จะต้องมีคนดูแลรับผิดชอบเรื่องการ Update ข้อมูลสินค้าและสินค้าที่มีใน Stock หรือที่สามารถสั่งซื้อได้ รับผิดชอบเรื่องการรับ Order และการส่งของโดยเคร่งครัด เพราะเป็นเรื่องจุกจิก และเรื่องนี้ ก็มีคู่แข่งเช่นกัน เพราะมีหลายเว็บไซต์ที่ขายสินค้า  OTOP โดยตรงอยู่แล้ว รวมทั้งการสั่งซื้อที่ไปรษณีย์  สำหรับศูนย์ขนาดเล็กที่ยังไม่มีงบประมาณและบุคลากรเพียงพอ ก็อาจติดต่อใช้บริการจากเว็บไซต์ไทยตำบลดอทคอมได้  ตัวอย่างข้อมูล หรือโฮมเพจของศูนย์สินค้า OTOP ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีแล้วในไทยตำบลดอทคอม ดูได้ที่นี่

หมายเหตุ : การตั้งงบประมาณสำหรับศูนย์สินค้า OTOP ในอดีต มักจะเน้นที่ ที่ดินและอาคารสิ่งก่อสร้าง ลงทุนกันมาก แต่ไม่ได้คำนึงถึงการลงทุนเรื่องการวางระบบงานและด้าน IT รวมทั้งการจัดให้มีบุคลากรที่มีความสามารถมารับผิดชอบ และเมื่ออนุมัติสร้างไปแล้ว ไม่มีการติดตามประเมินผลโดยหน่วยงานกลาง ซึ่งก่อนที่จะอนุมัติสร้างควรจะต้องตรวจดู Business Plan และผลตอบแทนการลงทุนก่อน เพราะถ้าโครงการดี บริหารดี สามารถอยู่รอดได้ ก็จะคุ้มกับเงินที่ลงทุนไป หรือถ้าไม่แน่ใจ ก็ให้ลงทุนทำศูนย์ขนาดเล็กๆไปก่อน

13. ศูนย์สินค้า OTOP กับระบบ e-Commerce
    โดยทั่วๆไปศูนย์สินค้า OTOP มีสินค้าที่แสดงและจำหน่ายอยู่แล้ว และสินค้าบางรายการก็มี Stock สามารถขายในระบบ  e-Commerce ได้ โดยมีทางเลือกในการชำระเงินได้หลายแบบ แต่ข้อควรระวังก็คือ ต้องมีการ Update สินค้าบ่อยมาก ทำเป็นงานประจำ ไม่ใช่งานฝาก ต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และต้องส่งของที่ถูกต้อง มีคุณภาพให้ผู้ที่สั่งซื้อได้อย่างรวดเร็ว  การทำระบบงาน e-Commerce นั้น ถ้าทำเองไม่ไหว ก็สามารถใช้บริการของบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องการขายสินค้าในระบบนี้ได้  แต่อย่าลืมปัญหา OTOP e-Commerce ยังมีอีกมาก โดยเฉพาะสินค้าหัตถกรรม (Handmade) ที่อาจจะผลิตได้ช้า และความไม่พร้อมต่างๆของกลุ่มผู้ผลิต 

14. การบริหารงานของศูนย์สินค้า OTOP
    ควรจะต้องพิจารณาเลือกระหว่างการที่รัฐ หรือทางราชการจะจัดการบริหารและทำด้านการตลาดเอง หรือ จะมอบหมายให้ภาคเอกชน เข้ามาบริหารจัดการ ทั้งนี้ การคัดสรรผู้ที่จะทำหน้าที่ผู้จัดการศูนย์และพนักงาน จะต้องกระทำอย่างดี การขายสินค้าของศูนย์ อาจจะไม่จำกัดอยู่ที่ภายในศูนย์เท่านั้น แต่ผู้บริหารศูนย์ อาจจะต้องร่วมในกิจกรรมด้านการตลาดอื่นๆได้ เช่น การออกร้าน ออกงาน เพื่อเผยแพร่สินค้า บริการ และประชาสัมพันธ์ศูนย์ OTOP